เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสสาหดรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ สภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง
จากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่รอนมาเป็นสังคมเกษตรที่รู้จักกับการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตรทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง
ต่อมามีความจำเป็นที่ต้องผลิตสินค้าใหใได้ปริมาณมากและต้นทุนถูก
จึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรม ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลง
มาเป็นสังคมเมือง มีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยเป็นเมือง
มีอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิต สังคมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
และกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ
ปุจจุบันคอมพิวเตอรืและระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้น มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เช่น อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ
การดำเนินธุรกิจใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง เกิดคำใหม่ว่า ไซเบอร์เเปซ ( cyberspace
) มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในไซเบอร์สเปซ เช่น การพูดคุย
การซื้อขายและบริการ
การทำงานผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอรืทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริงมากมาย เช่น
ห้องสมุดเสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ที่ทำงานเสมือนจริง ฯลฯ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นเทคโนโลยีแยยสุนทรียสัมผัสและตอบสนองความต้องการ ปุจจุบันการใช้เทคโนโ,ยีเป็นปบบบังคับ เช่น การดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ เมื่อเราเปิดเครื่องรับโทรทัศน์เราไม่สามารถเลือกตามคาวมต้องการได้
ถ้าสถานีส่งสัญญาณใดมาเราก็จะต้องชมตามตารางที่สถานีกำหนด
หากผิดเวลาก็ทำให้พลาดรายการที่สนใจไปและหากไม่พอใจรายการที่ได้เพียงเลือกสถานีใหม่
แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียนว่าออนดีมานด์
( on demand ) เราจะมีอนดีมานด์ ( TV on demand ) เช่น เมื่อต้องการชมภาพยนตร์เรื่องใดก็ดูได้ เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาที่ก้าวหน้าจนสามารถนำระบบสื่อสารมาตอบสนองตามความต้องการของมนุษย์ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลาเมื่อการสื่อสารแบบสองทางก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้น
การโต้ตอบผ่านเครือข่ายทำให้เหมือนมีปฏิสัมพันธ์ได้จริง
เรามีระบบประชุมทางวีดิทัศน์ ระบบประชุมบนเครือข่าย มีระบบการศึกษาบนเครือข่าย
มีระบบการค้าขายบนเครือข่าย
ลักษณะของการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ทำให้ขยายขอบเขตการทำงาน
หรือดำเนินกิจกรรมในทุกหนทุกแห่ง และดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ระบบเอทีเอ็ม
ทำให้มีการเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลาและกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้น
แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การบริการกระจายมากยิ่งขึ้นจนถึงที่บ้านและในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำมฃที่บ้านหรือที่ใดก็ได้
และเวลาใดก็ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็ยเศรษฐกิจโลกความเกี่ยวโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์(
hlobalization ) ระบบเศรษฐกิจซึ่งตั้งแต้เดิมมีขอบเขตจขำกัดภายในประเทศ
ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก
ทั่งโลกจะมีกระแสหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีส่วนช่วยอำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศ
และเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้นเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน
หน่วยงานภานในเป็นแบบเครือข่ายมากขึ้น
แต่เดิมการจัดองค์กรมีการวางแผนเป็นลำดับขั้น มีสสายการบังคับบัญชาจากบนลลงล่าง
แต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่างสารดีขึ้น
มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงาน
มีการเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การจัดโครงสร้างขององค์กรจึงปรับเปลี่ยนจากเดิม
มีแนวโน้มที่จะสร้างองค์กรเป็นเครือข่าย ที่มีลัษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น
หน่วยธุรกิจจะมีขนาดเลกลงและเชื่อมโยงกับหน่วยงานธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย
สถานภาพขององค์กรจึงต้องแปรเปลี่ยนไปตามกระแสของเทคโนโลยี
เพราะการดำเนินธุรกิจต้องใช้ระบบสื่อสารที่มีความรวดเร็วเท่ากับแสง
ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลไดฃ้ง่ายและรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น
อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
แต่เดิมการตัดสินปัญหาอาจีหนทางให้เลือกได้น้อยเช่น มีตำตอบเพียง ใช่ พรือ ไม้ใช่
แต่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทำให้วิถีความคิดในการตัดสินปัญหาเปลี่ยนไป
ผู้ตัดสินใจมีทางเลือกได้มากขึ้น มีความละเอียดอ่อนในการตัดสินปัญหาได้ดี
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาททุกวงการ ดังนั้นจึงจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมากลอฝนึกดูว่าขณะนี้เราสามารถชาข่าว
ชารายการโทรทัศน์ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก
เราสามารุรับรู้ข่าวสารได้ทันที เราใช้เครือขายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกัน
และการติดต่อกับคนทั่วโลก จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ
สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น